นโยบายความยั่งยืน (Sustainability Policy)

เพื่อให้การดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ ความยั่งยืนขององค์กร ด้วยความมุ่งมั่นในการยกระดับการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) จึงกำหนดนโยบายความยั่งยืนขององค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนี้

  1. กำหนดให้มีกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรที่ครอบคลุมการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีการระบุ ประเมินและตอบสนองต่อ ประเด็นที่เป็นสาระสำคัญของธุรกิจ (Materiality) และความเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วน ได้เสีย ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในการวางแผนธุรกิจ การตัดสินใจทางธุรกิจ และกระบวนการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร
  2. ยึดถือหลักการประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม (Good Governance) ต่อผู้มีส่วนได้เสียและเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีจริยธรรมและคุณธรรม ตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ (Code of Conduct) และมีระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) รวมถึงดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ ยึดมั่นในความถูกต้องต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (Anti-Corruption) ไม่สนับสนุนให้มีการสร้างความสำเร็จของงานด้วยวิธีการที่ผิดศีลธรรมและกฎหมาย
  3. กำหนดแนวทางในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ครอบคลุมทุกมิติ ดังนี้
    • มิติด้านเศรษฐกิจ
  • รับผิดชอบต่อลูกค้า พันธมิตร และคู่ค้าตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ (Business Chain) โดยพัฒนาระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจัดส่งสินค้าที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยและมั่นคงให้กับลูกค้า ให้ผลตอบแทนกับ คู่ค้าอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า พันธมิตร และคู่ค้า รวมถึงส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่ธุรกิจดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • พัฒนานวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานและสถาบันการศึกษา ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต หรือการนำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตมาสร้างหรือแปรรูปเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ประโยชน์ได้ใหม่ รวมถึงเผยแพร่ (Dissemination) องค์ความรู้และนวัตกรรมเหล่านั้นไปสู่สังคมอย่างเป็นรูปธรรม
    • มิติด้านสังคม
  • เคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม (Human Rights and Labor Practices) โดยเคารพและสนับสนุนการปกป้องสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบ ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย บุคคลอื่นและพนักงานอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกเพศ วัย สีผิว การศึกษา เชื้อชาติ ศาสนาและความเชื่อส่วนบุคคล และสนับสนุนให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน
  • พัฒนาศักยภาพและรักษาพนักงาน (Capability Development and Employee Retention) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของพนักงาน ด้วยการสนับสนุนการอบรมให้ความรู้และทรัพยากรที่จำเป็น ทำงานได้เต็มศักยภาพและขีดความสามารถ รวมถึงการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความรู้สึกเป็นผู้ประกอบการ
  • เสริมสร้างสุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน (Health and safety Environment) รวมถึงส่งเสริมการให้ความรู้และสร้างความตระหนักด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้แก่พนักงานอย่างสม่ำเสมอ
  • ร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม (Community Involvement and Development) โดยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาภายในชุมชนทั้งการศึกษา เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและสังคมโดยรวม ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) พร้อมทั้งสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณประโยชน์และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
  • ส่งเสริมความร่วมมือของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย (Participation of Stakeholders) เพื่อสานผลประโยชน์ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและกำหนดมาตรการที่เหมาะสม กำหนดช่องทางที่ชัดเจนในการเผยแพร่และสื่อสารระหว่างกันอย่างมีส่วนร่วม หลากหลาย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
    • มิติด้านสิ่งแวดล้อม
  • ดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management) โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง แสวงหาแนวทางยกระดับประสิทธิภาพการจัดการและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงรักษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มคำนึงถึงความสำคัญ อันจะยังประโยชน์แก่สังคมและมวลมนุษยชาติอย่างยั่งยืน
  • ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Use of Resources) โดยส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรทุกประเภทให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงแสวงหาแนวทางและวิธีการลดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
  • ดำเนินการจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Management) โดยบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องตามกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงแสวงหามาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและวิธีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการประกอบธุรกิจ
  1. เปิดเผยนโยบายด้านความยั่งยืนขององค์กร ข้อมูลและผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในทุกมิติ ตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานที่สากลยอมรับอย่างเพียงพอ โปร่งใส และในเวลาที่เหมาะสม
  2. สร้างความตระหนักและปลูกฝังจิตสํานึกที่ดีแก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริมและปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายด้านความยั่งยืนองค์กรฉบับนี้            

นโยบายด้านความยั่งยืนฉบับนี้ ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป                                 
(นายสุจริต ปัจฉิมนันท์)
ประธานกรรมการ